ระบบเสียง
1. MONO
ระบบเสียง Mono คือระบบเสียงที่มีช่องทางเสียง (channel) เพียงช่องเดียวเท่านั้น สำหรับการฟังระบบเสียง Mono จะใช้ลำโพงเพียงตัวเดียว (หรือจะมีมากกว่า 1 ตัว แต่ทุกตัว จะให้เสียงอันเดียวกันทั้งหมด)
2. STEREO
ระบบเสียง Stereo เป็นระบบเสียงที่ประกอบด้วยช่องทางเสียง 2 ช่อง สำหรับการฟัง จะต้องใช้ลำโพง 2 ตัว แต่ละตัว จะให้เสียงในแต่ละช่องทาง ระบบเสียง Stereo นี้ จุดฟัง ควรจะอยู่กึ่งกลางระหว่างลำโพง 2 ตัว เพื่อให้ได้มิติของเสียง หากอยู่ใกล้ลำโพงตัวใดตัวหนึ่งมากเกินไป ความดังของลำโพง จะทำให้มิติของเสียงจากลำโพงอีกตัว หายไป สำหรับระบบ Stereo ในโรงหนัง จะประกอบด้วยช่องทางเสียง 3-4 ช่อง โดยมี 2 ช่อง เป็นสัญญาณเสียงซ้ายขวา และมีสัญญาณเสียง effect อยู่ด้านหลัง (surround) และมีสัญญาณเสียงบทพูด (dialogue) อยู่ด้านหน้า เพื่อดึงความสนใจ ให้อยู่บริเวณจอภาพ แต่สำหรับระบบ Stereo บนแผ่นเสียง หรือบนเทป จะมีแค่ 2 ช่องทาง เนื่องจากสื่อสามารถเก็บช่องทางเสียงได้แค่นั้น
3. QUADRAPHONIC STEREO
เป็นระบบเสียงที่ไม่ค่อยรู้จักกันนัก เป็นการ encode เสียง 4 ช่องทาง โดยเสียง 2 ช่องทางที่เพิ่มมาจากระบบ Stereo นั้น เป็นช่องทางเสียงสำหรับลำโพง 2 ตัว ที่จะวางไว้ด้านหลัง อย่างไรก็ตาม ระบบเสียง Quadraphonic นี้ ก็ไม่สามารถหามาตรฐานสำหรับการผลิตได้ ทำให้ไม่มีใครผลิตสื่อในระบบเสียงนี้ออกมา
4. DOLBY STEREO
ระบบเสียงนี้ เริ่มต้นในปี 1976 โดยพัฒนามาจากระบบ Stereo สำหรับโรงหนัง ทำให้สามารถ "เพิ่ม" ช่องทางเสียงได้อีก 2 ช่อง ร่วมเข้าไปกับช่องเสียง 2 ช่องเดิม (คือเป็นการรวมช่องเสียง Surround และ Dialogue เข้าไปไว้ในระบบ Stereo) ในการฟังระบบเสียงนี้ จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ในการถอดรหัสแยกเสียง ให้เป็น 4 ช่องทาง สิ่งที่พัฒนาขึ้นใน Dolby Stereo คือ การรวมสัญญาณเสียง 4 ช่องทาง ให้เหลือ 2 ช่องทาง และการพัฒนาระบบ encode/decode สัญญาณเสียง รวมไปถึง เทคนิคในการลดเสียงรบกวน (Noise Reduction)
5. DOLBY SURROUND
ระบบเสียงนี้ เริ่มต้นในปี 1982 ในฐานะของระบบเสียง 3 ช่องทาง สำหรับการดูในบ้าน โดย 3 ช่องทางประกอบด้วย หน้าซ้าย (Front Left) หน้าขวา (Front Right) และ Surround แม้ว่าช่องเสียง Surround จะใช้ลำโพง 2 ตัวก็ตาม แต่สัญญาณเสียง Surround จะเป็นระบบ Mono ที่ความถี่ 100Hz-7,000Hz แทรกอยู่ในสัญญาณ FL และ FR การรับฟังระบบเสียง Dolby Surround จำเป็นต้องมีเครื่อง Three Channel Surround Processor โดยระบบเสียงนี้ จะมีเฉพาะในสื่อสำหรับเล่นตามบ้านเท่านั้น เช่น VHS
6. DOLBY SURROUND PRO-LOGIC
ระบบนี้ คือระบบ Dolby Surround ที่เพิ่มเทคนิคที่เรียกว่า Pro-Logic เข้าไป ระบบนี้ ใช้กับเครื่อง Dolby Pro-Logic Decoder ทำให้สามารถแยกสัญญาณ analog 4 ช่องทาง ออกมาจากระบบ Dolby Stereo หรือ Dolby Surround ได้ นอกจากแยกช่องทางเสียงออกมาแล้ว เทคนิค Pro-Logic ยังได้เพิ่มความสามารถในการใส่ช่องเสียง Center และยังสามารถสร้างช่องทางเสียง Surround ให้กับเสียงต้นฉบับที่เป็น Stereo ธรรมดาได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม สัญญาณเสียง จากช่อง surround ยังคงเป็นสัญญาณระบบ Mono ที่ความถี่ 100Hz-7,000Hz เท่านั้น
7. DOLBY DIGITAL (AC-3)
ระบบเสียงนี้ เริ่มต้นในปี 1992 เป็นระบบเสียง Digital สำหรับโรงหนัง โดยระบบเสียงนี้ จะประกอบด้วยสัญญาณเสียง digital ทั้งหมด 6 ช่องทางแยกขาดจากกัน มี 5 ช่องทางสำหรับลำโพง 5 ตัว และช่องที่ 6 สำหรับสัญญาณเสียงต่ำ เพื่อใช้กับ Sub-Woofer เราเรียกช่องทางเสียงนี้ว่า 5.1 Channel หรือ AC-3 (Audio Coding 3rd Generation) ข้อดีของระบบเสียงแบบ digital คือ จะใช้เนื้อที่ในการบันทึก น้อยกว่าระบบอื่น ๆ ทำให้สามารถเพิ่มช่องเสียงได้มากขึ้น (เช่น ช่องทาง Surround จากเดิมเป็นแค่ Mono 100Hz-7,000Hz สามารถทำเป็น Hi-Fi Stereo ได้ และมีช่อง LFE Low Frequency Effects ที่ความถี่ 20Hz-120Hz เพิ่มขึ้นมา)
8. DOLBY DIGITAL SURROUND-EX
ระบบเสียง ที่พัฒนามาจาก Dolby Digital 5.1 เป็นการพัฒนาร่วมกัน ระหว่าง Dolby Laboratories และ Lucas film เพิ่มช่องทางเสียง Surround โดยการทำ Matrixed Combination จากสัญญาณ Surround 2 ช่องทางเดิม ที่มีใน Dolby Digital 5.1 (หรือในทางปฏิบัติ ก็คือการนำเอาลำโพง surround-left และ surround-right มาวางตำแหน่งไว้ในด้านข้าง และเพิ่มลำโพง surround-back อีกตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป ไว้ทางด้านหลัง) ระบบเสียงนี้ ทำให้การเคลื่อนตัวของเสียง จากด้านหน้า มาด้านข้าง และอ้อมหลังผู้ฟัง มีการต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น ระบบเสียง Dolby Digital Surround-EX นี้ เมื่อเข้ามาเป็นระบบเสียงสำหรับฟังในบ้าน จะใช้ชื่อว่า THX Surround-EX และเนื่องจาก ระบบเสียง Dolby Digital Surround-EX นี้ ถอดสัญญาณ surround-back ที่ถูกฝังมาในสัญญาณ surround-left surround-right ในระบบเสียง Dolby Digital 5.1 ดังนั้น เครื่อง decoder ที่ไม่มีระบบ EX ก็จะเห็นระบบเสียงนี้ เป็น Dolby Digital 5.1 ธรรมดาเท่านั้น
9. DIGITAL THEATER SYSTEMS (DTS)
ระบบเสียง DTS เริ่มเข้ามามีบทบาท เป็นระบบเสียงสำหรับโรงหนัง ในปี 1995 ประกอบด้วยสัญญาณเสียงแบบ digital 5.1ช่องทาง (เหมือน Dolby Digital) แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ การบีบอัดข้อมูลของสัญญาณ digital โดย Dolby Digital จะบีบอัดสัญญาณเสียงที่สัดส่วนคงที่ คือ 12:1 แต่ DTS จะใช้การบีบอัดแบบไม่คงตัว ในสัดส่วนตั้งแต่ 1:1 ถึง 40:1 ทำให้คงรายละเอียดของเสียง ในส่วนที่มีเสียงมาก ๆ ได้ดีกว่า และไปลดขนาด ในช่วงที่ไม่ค่อยมีเสียงประกอบอะไร ทำให้เสียงที่อกมา มีความสะอาดกว่าในระบบ Dolby Digital อย่างไรก็ตาม ระบบเสียง DTS นี้ ไม่ได้รับความนิยมสำหรับการรับฟังในบ้าน เนื่องจาก ในทางปฏิบัตินั้น ข้อมูล digital ของสัญญาณเสียง DTS จะใช้เนื้อที่มากกว่าของระบบ Dolby Digital ทำให้ไม่สามารถจัดเก็บระบบเสียง analog รวมเข้าไปไว้ได้ (ในกรณีไม่มีเครื่อง DTS Decoder) แต่ปัญหานี้ก็มีเฉพาะใน Laserdisc เท่านั้น ไม่มีผลกับ DVD ระบบเสียง DTS ยังแบ่งออกได้เป็นอีก 3 ประเภท ได้แก่
- DTS 5.1 Digital Surround - ประกอบด้วยสัญญาณคู่หน้า (FL/FR) คู่หลัง (RL/RR) กลาง (Center) และ Sub
- DTS Stereo 2.0 - คล้าย ๆ กับ Dolby Surround คือเป็นสัญญาณเสียง Stereo ที่มีการผสม (matrixed) สัญญาณสำหรับ Center และ Surround เอาไว้ สามารถนำมาเล่นได้กับอุปกรณ์ Dolby Pro-Logic DTS Mono 1.0 - สัญญาณช่องเดียว เดี่ยว ๆ ไม่มีลุกเล่นอะไร
- DTS-ES ระบบเสียง DTS ที่ใช้เทคโนโลยีจาก Dolby Laboratories และมีพื้นฐานมาจากระบบเสียง Dolby Digital Surround-EX ระบบเสียง DTS-ES นี้ มีการเพิ่มช่องสัญญาณ rear surround (หรือ surround-back) สำหรับลำโพงตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป วางไว้ในตำแหน่งด้านหลัง และลำโพง surround-left surround-right จะย้ายมาอยู่ด้านข้างแทน (เหมือนกับระบบ Dolby Digital Surround-EX เป๊ะ) ช่องสัญญาณที่เพิ่มขึ้นมา จะถูก matrixed เข้ากับช่องสัญญาณ surround-left surround-right ทำให้สามารถ วางตำแหน่งเสียงรอบ ๆ ตัวผู้ฟังได้ถูกต้องขึ้น ในการรับฟังระบบเสียงนี้ จะต้องอาศัยเครื่อง DTS-ES Decoder ซึ่งหากไม่มี ก็ยังสามารถรับฟังได้กับเครื่อง DTS Decoder ซึ่งจะได้เสียง 5.1 ช่องเสียงเท่านั้น (สรุปก็คือ มันก็ลอก Dolby Digital Surround-EX มาทั้งดุ้น เพียงแต่การบีบอัดสัญญาณ ยังเป็นแบบ DTS เท่านั้น)
10. SONY DYNAMIC DIGITAL SOUND (SDDS)
ระบบเสียง SDDS นี้ สามารถรับฟังได้ เฉพาะกับโรงหนังเท่านั้น เนื่องจากระบบเสียงสำหรับฟังตามบ้าน ถูกครองโดย Dolby Digital 5.1 และ DTS ไปหมดแล้ว ระบบเสียง SDDS นี้ ประกอบด้วยสัญญาณเสียง 8 ช่องเสียง (หรือ 7.1) โดยเน้นหนักที่ลำโพงชุดหน้า ในการสร้างมิติเสียง ตามที่ภาพปรากฏบนจอ สำหรับโรงหนังขนาดใหญ่ ประกอบด้วยช่องเสียง หน้า 5 ช่อง (Left, Center-Left, Center, Center-Right, Right) และหลัง 2 ช่อง (Surround-Left, Surround Right) กับอีก 1 ช่องเสียงสำหรับ Sub-Woofer
11. THX SOUND SYSTEM
สำหรับ THX นี้ ไม่ใช่ระบบเสียง (หลาย ๆ คนเข้าใจผิด) ระบบ THX นี้ พัฒนาโดย Lucas film ย่อมาจาก Tomlinson Holman’s experiment ใช้เพื่อเป็นการกำหนดมาตรฐาน สำหรับอุปกรณ์การดูหนัง ทั้งนี้ การเกิดขึ้นของระบบ THX เนื่องจาก เสียงที่ผู้ฟังรับฟังในโรงหนังต่าง ๆ กัน ที่ใช้อุปกรณ์โสตคนละชนิดกัน ทำให้เสียงที่ได้ออกมาแตกต่างกัน ซึ่งหากได้มีการกำหนดมาตรฐานสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ ในแต่ละโรง จะทำให้ การรับชม/รับฟังภาพยนตร์ในแต่ละโรง มีความแตกต่างกันน้อยมาก และทำให้ผู้ฟัง ได้รับฟังเสียง ที่ใกล้เคียงกับต้นฉบับมาที่สุด ตราบเท่าที่ อุปกรณ์ต่าง ๆ ยังได้รับการยอมรับตามมาตรฐาน THX THX นี้ ไม่ใช่ระบบเสียง เหมือนอย่าง Dolby Digital หรือ DTS แต่ THX เป็นตัวกลาง ที่อยู่ทั้ง Dolby Digital และ DTS เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ผู้ฟัง ได้รับฟังเสียงที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะฟังเสียงในระบบไหน สำหรับอุปกรณ์ที่จะได้รับการยอมรับ ตามมาตรฐาน THX นั้น ต้องผ่านการทดสอบ ตั้งแต่ชนิดของวัสดุที่ใช้ ชนิดของหม้อแปลง สัญญาณเสียงรบกวนภายใน ดังนั้น อุปกรณ์ที่ได้รับมาตรฐาน THX จะถือได้ว่า เป็นอุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูง
เครื่องเสียง
คำว่า เครื่องเสียง อาจแปลความหมายได้หลากหลายตามขนาดและวิธีการใช้งาน ซึ่งในที่นี้เราจะให้คำจำกัดความของเครื่องเสียงว่าหมายถึงอุปกรณ์เสียง (Audio Equipment)
อุปกรณ์เครื่องเสียง เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานโดยหลักการของ การผลิตซ้ำ, บันทึก หรือประมวลผลเสียง ซึ่งรวมถึงอุปกรณ์ ไมโครโฟน (Microphones), เครื่องรับวิทยุ (Radio receivers), เครื่องรับสัญญาณภาพและเสียง (AV Receivers),เครื่องเล่นคอมแพ็คดิสก์หรือซีดี (CD players), เครื่องบันทึกเสียง (Audio recorders), เครื่องผสมสัญญาณ(Mixer), กลุ่มเอ็ฟเฟ็ค (Effects units)หรือ เครื่องประมวลสัญญาณ(Signal processor) ซึ่งรวมถึง อีควอไลเซอร์(Equalizer), เครื่องขยาย(Amplifiers) และ ลำโพง (loudspeakers) ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้สามารถเชื่อมต่อกันด้วย สายสัญญาณ(Signal Cable) ต่างๆ และเสียงที่เราได้ยินจะเป็นไปตาม องค์ประกอบระบบเสียง Audio system components
- หากนำอุปกรณ์ต่างๆ มาต่อให้ทำงานร่วมกันจะกลายเป็น ระบบเสียง (Sound Systems) โดยต้องเข้าใจเรื่อง การเข้าระบบกับความต้านทาน (Impedance Matching)
- หากใช้งานแบบส่วนบุคคล หรือภายในครอบครัว จะหมายถึง เครื่องเสียงบ้าน (Home use)
- หากใช้งานแบบเน้นคุณภาพเสียงหรือรสนิยมในการฟัง เรียกว่า เครื่องเสียง ไฮเอ็นด์ (Hi-end Audio) และการเล่นเครื่องเสียงอย่างจริงจังอาจหมายถึง ออดิโอไฟล์ (Audiophile)
- ระบบที่ใหญ่ขึ้นใช้กับผุ้ฟังจำนวนมากขึ้นเราอาจเรียกว่า เครื่องเสียงPA หรือ ระบบเสียงPA (Public Address Sound Systems or Sound Reinforcement)
- หรือหากเป็นการผลิตสื่อที่เป็นสัญญาณเสียง จะหมายถึง การบันทึกเสียงและผลิตซ้ำ(Sound recording and reproduction)
- เนื่องจากอุปกรณ์เสียงส่วนใหญ่ ทำงานด้วยอุปกรณ์อีเล็คทรอนิคส์ และใช้พลังงานไฟฟ้า คนทำงานเกี่ยวกับเครื่องเสียงจึงต้องมีความรุ้ทาง วิศวกรรมเสียง (Audio engineering) พอสมควร
- งานระบบเสียงที่เน้นคุณภาพต้องอาศัยคนทำงานระดับมืออาชีพซึ่งต้องใช้ อุปกรณ์เสียงระดับมืออาชีพ(Professional Audio) มาเป็นเครื่องมือในการปฎิบัติตามขั้นตอน การทำงานระบบเสียง
- ส่วนอุปกรณ์เสียงที่ทดลองสร้างและออกแบบวงจรเองเพื่อการศึกษาหรือใช้งานที่งบประมาณมีจำกัด ในทางสากลคือเครื่องเสียงประเภท คุณทำเอาเอง (D.I.Y.)
- ส่วนในประเทศไทยอาจหมายถึง เครื่องเสียงบ้านหม้อ ซึ่งอาจไม่ได้คิดต้นแบบเองแต่สามารถดัดแปลงอุปกรณ์เพื่อรองรับตลาดนักเล่นและผู้นิยมเครื่องเสียงต่างๆได้ (เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของประเทศไทยเท่านั้น)
ลำโพง
ลำโพงขับเสียง หรือลำโพง loudspeaker,
speaker ดอกลำโพง
Speaker Unit เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าเชิงกลอย่างหนึ่ง
ทำหน้าที่แปลงสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นเสียงโดยอาศัยกำลังขยายจากเครื่องขยายเสียงตามความสามารถที่ตัวลำโพงแต่ละดอกสามารถขับได้สูงสุด
ซึ่งวัดค่าเป็นกำลังวัตต์ ที่ ความต้านทานของขดลวดในดอกลำโพง
อภิธานศัพท์ Terminology
คำว่า "ลำโพงขับเสียง loudspeaker" อาจหมายถึง
ตัวการแปรพลัง transducer เพียงอย่างเดียว (หมายถึง"ดอกลำโพง drivers") หรือหมายถึงระบบลำโพงที่สมบูรณ์อันประกอบด้วย
ตู้ใส่ enclosure ที่อาจใส่ได้ดอกเดียว หรือหลายดอก
เพื่อความเหมาะสมในการผลิตซ้ำ reproduce ความถี่ที่กว้างครอบคลุมย่านการฟัง
ระบบลำโพงส่วนใหญ่จึงบรรจุตัวลำโพงมากกว่าหนึ่งดอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ
ระดับแรงอัดเสียง sound pressure level ที่มากขึ้น หรือ
การให้ความถูกต้องสูงสุด maximum accuracy
ลำโพงแต่ละดอก จะใช้ขับเสียงหรือผลิตความถี่ที่ต่างกัน
ดอกลำโพงที่ถูกเรียกว่า ซับวูฟเฟอร์ subwoofers ใช้กับย่านความถี่ต่ำมากๆ
วูฟเฟอร์ woofers ใช้กับย่านความถี่ต่ำ ลำโพงมิดเรนจ์mid-range
speakers ใช้กับย่านความถี่กลาง ทวีตเตอร์ tweeters
ใช้กับย่านความสูง และบางทีอาจเสริมด้วย ซุปเปอร์ทวีตเตอร์ supertweeters เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการขับเสียงความถี่ที่คนสามารถได้ยิน
audible frequencies.
การเรียกระบบลำโพงที่ใช้ดอกต่างกันจึงแตกต่างตามการใช้งาน ในระบบสองทาง two-way
systems จะไม่มีดอกเสียงกลาง mid-range ดังนั้น
หน้าที่ในการขับย่านความถี่กลาง จึงตกไปอยู่กับ ดอกเสียงต่ำ woofer และ
ดอกเสียงสูง tweeter
เครื่องเสียงบ้าน Home stereos มักใช้การเรียกดอกขับความถี่สูงว่า
"ทวีตเตอร์ tweeter" ในขณะที่ระบบเสียงมืออาชีพเรียกพวกมันว่า
"เอชเอฟHF" หรือ " ไฮส์ highs".
เมื่อมีการใช้ลำโพงหลายดอกในระบบ จึงต้องมี "เน็ทเวิร์คกรอง filter
network" ที่ถูกเรียกว่า crossover , เพื่อใช้แบ่งแยกสัญญาณที่เข้ามา
เป็นย่านความถี่ต่างๆ และ เดินสัญญาณที่แบ่งไปยังดอกลำโพงที่เหมาะสม
การเรียกว่าว่าเป็นลำโพงกี่ทางนั้นนับตามการแบ่งความถี่ว่ามีกี่ย่านนั่นเองไม่ใช่นับตามจำนวนดอก
เพราะอาจใช้ลำโพงมากกว่าหนึ่งดอกในการขับย่านความถี่เดียวก็ได้
คือการกำเนิดเสียงจากคลื่นไฟฟ้า ด้วยตัวการแปรพลัง transducer ที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นเสียง
ลำโพงเคลื่อนไหวเพื่อทำให้เกิดการสั่นสะเทือนจากการผันแปร ของสัญญาณไฟฟ้า
และกำเนิดคลื่นเสียงที่แพร่ผ่านไปยังตัวกลางเช่นอากาศ หรือ น้ำ
หลังจากนั้นจะเกิดผลการได้ยิน Acoustics ตามพื้นที่ในการฟัง listening
space
ลำโพง (หรืออุปกรณ์แปรพลัง สัญาณคลื่นไฟฟ้าเป็นเสียงอื่นๆ)
เป็นรากฐานส่วนใหญ่ของระบบเสียงอันหลากหลายในปัจจุบัน
และมักจะถูกให้รับภาระในการเป็นตัวทำให้เสียงเพี้ยนหรือได้ยินต่างออกไปจากเสียงจริง
(ถ้าไม่รู้จะโทษอะไรก็โทษลำโพงเพราะมองเห็นและได้ยินเสียงจากมัน)
ระบบแสงสี
การออกแบบระบบแสงสำหรับการแสดงบนเวที
ในการจัดแสงสำหรับการแสดงบนเวทีนั้นจะไม่มีข้อกำหนดตายตัวในเรื่องของค่าความสว่าง แต่จะมีองค์ประกอบหลักๆ ที่นอกเหนือจากองค์ความรู้ทางด้านการออกแบบแสงแล้ว ยังมีองค์ประกอบอื่นด้านอื่นๆที่มีความสำคัญสำหรับการออกแบบระบบแสงสำหรับการแสดงบนเวทีเช่นกัน
Position องค์ประกอบแรกที่มีความสำคัญมากที่สุด จะประกอบไปด้วย ตำแหน่งต่างๆของนักแสดง และ การเคลื่อนที่ของนักแสดง ซึ่งทั้ง 2 องค์ประกอบนี้ถือว่ามีความสำคัญทีสุด ถ้าไม่ทราบถึงสิ่งเหล่านี้ ก็ไม่รู้ว่าจะเอาไฟไปส่องอะไร และต้องส่องสว่างเป็นพื้นที่เท่าไร สุดท้ายระบบแสงที่ออกแบบมาก็จะไม่สามารถตอบสนองการแสดงบนเวทีได้ องค์ประกอบนี้ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
Scene (บรรยากาศที่ใช้ประกอบการแสดง) องค์ประกอบนี้ถือว่ามีความสำคัญอีกเช่นกัน เพราะในการแสดงบนเวทีนอกจากบทบาทและลีลาที่นักแสดงได้ถ่ายทอดอารมณ์ออกมาแล้วนั้น สิ่งที่เสริมความเด่นชัดของการแสดงในแต่ละบทบาทและอารมณ์นั้นก็คือ บรรยากาศของแสงที่ช่วยเสริมให้การแสดงดูสวยงาม และเสมือนจริงได้ โดยจะมีข้อคำนึงถึงประมาณ 4-5 ข้อก็คือสีของแสงที่ใช้ในการแสดง เช่น สีของแสงในบรรยากาศต่างๆ (เช้า สาย บ่าย เย็น) , ลักษณะของแสง เช่นแสงที่ทำให้เกิดเงาของวัตถุที่มากหรือน้อยเพื่อบ่งบอกอารมณ์และความรู้สึกต่างๆ ที่นักแสดงถ่ายทอดออกมา, จุดสนใจของแสง (Selective Focus) แสงที่เน้นความสำคัญและลักษณะเด่นของเหตุการณ์นั้นๆ , อารมณ์ของแสง (Mood) และ การเคลื่อนไหวของแสง ที่สัมพันธ์กับการแสดง
Property (อุปกรณ์ประกอบฉากและการแสดง) องค์ประกอบนี้ถือว่ามีความสำคัญอีกเช่นกัน ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่ช่วยเสริมให้เรื่องราวต่างในการแสดงมีความสมบูรณ์มากขึ้น และในองค์ประกอบในส่วนนี้สิ่งที่ผู้ออกแบบแสงต้องคำนึงถึงนั่นก็คือ ขนาดของวัตถุ และ สีของวัตถุ เพื่อที่ผู้ออกแบบแสงจะได้เลือกใช้โคมไฟและสีของแสงให้สอดคล้องกับอุปกณ์ประกอบฉากเหล่านั้นได้
ตัวอย่างในการออกแบบระบบแสงสำหรับการการแสดงบนเวที
กำหนดให้เวทีมีพื้นที่ ขนาดความกว้าง 12 เมตร, ความสูง 6 เมตร และความลึกของเวที 6 เมตร โดยกำหนดให้มีพื้นที่สำหรับการแสดง และการส่องสว่างของแสงอยู่ 2 ส่วน และมีฉากหลังประกอบการแสดงอยู่ด้านหลังเวที
จากรูปเราเราจะเห็นว่ามีพื้นที่สำหรับการแสดงอยู่ 2 ส่วนคือ เวทีด้านหน้า และ เวทีด้านใน ซึ่งแนวคิดในการออกแบบนั้นจะต้องสามารถที่จะตอบสนองกิจกรรมได้หลากหลายประเภทเช่น การประชุมสัมมนา, การแสดงดนตรี, การแสดงละครเวทีเล็กๆหรือการแสดงกิจกรรมอื่นๆบนเวทีที่ใช้พื้นที่ไม่มากนัก โดยที่ ระบบแสงสำหรับการแสดงบนเวทีนี้จะมีโคมไฟชนิดต่างๆในการใช้งานดังนี้
จากรูป จะเห็นได้ว่ามีโคมไฟหลายชนิดที่ใช้ในการส่องสว่างบนเวที ซึ่งโคมไฟแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติในการใช้งานที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้
โคมไฟสำหรับส่องสว่างบริเวณหน้าเวที F.O.H (Front of House)
เป็นแสงหลัก(Key Light) ในการส่องสว่างให้กับบริเวณด้านหน้าสุดของเวที โดยมีการออกแบบให้ใช้โคมไฟที่สามารถส่องสว่างได้จากระยะไกล เพื่อการตอบสนองกิจกรรมที่เกิดขึ้นบริเวณด้านหน้าเวทีได้อย่างครบถ้วน ซึ่งจะอธิบายได้ดังนี้
โคมไฟส่องสว่างชนิด Ellipsoidal ขนาด 600วัตต์ จะใช้โคมไฟชนิดนี้ในการส่องสว่างเพื่อต้องการเน้นให้กับวัตถุ เพื่อต้องการให้วัตถุนั้น ๆ มีความเด่นชัดมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การส่องสว่างให้กับโพเดียม หรือวัตถุอื่น ๆ ที่ต้องการความสว่างเฉพาะจุด ซึ่งโคมไฟชนิดนี้จะให้คุณลักษณะของแสงเป็นชนิด Hard Edge และมีองศาของแสงที่แตกต่างกัน เพื่อความเหมาะสมในการเลือกขนาดของลำแสงมาใช้งาน
โคมไฟสำหรับส่องสว่างบนเวที
เป็นแสงหลัก(Key Light) ในการส่องสว่างให้กับบริเวณเวทีด้านหน้าตรงกลาง และด้านในของเวทีเนื่องจากไม่สามารถใช้ชุดโคมไฟที่ส่องมาจากด้านหน้าสุดของเวที (F.O.H) ได้ เพราะแสงสว่างจากไฟด้านหน้าสุดไม่เพียงพอต่อการส่องสว่าง ในการออกแบบนั้นเราต้องกำหนดให้มีโคมไฟหลายๆ ชนิด เพื่อการตอบสนองกิจกรรมที่แตกต่างกันได้อย่างครบถ้วน ซึ่งจะอธิบายได้ดังนี้
โคมไฟส่องสว่างชนิด Ellipsoidal ขนาด 600 วัตต์ จะใช้โคมไฟชนิดนี้ในการส่องสว่าง เพื่อต้องการเน้นให้กับวัตถุ เพื่อให้วัตถุนั้นๆ มีความเด่นชัดมากขึ้น (Selective Focus) ยกตัวอย่างเช่นการส่องสว่างให้กับโพเดียม หรือวัตถุอื่นๆที่ต้องการความสว่างเฉพาะจุด และจะใช้โคมไฟส่องสว่าง ชนิด Fresnel ขนาด1000 วัตต์ ในการส่องสว่างให้กับวัตถุที่ต้องการควบคุมการกระจายของลำแสงไม่ให้ไปรบกวน วัตถุอื่นๆ เช่น บริเวณที่วัตถุที่ต้องการส่องสว่างนั้นอยู่ใกล้กับจอฉายภาพ หรือฉากหลังของวัตถุ ซึ่งโคมไฟชนิดนี้จะมีคุณลักษณะของแสงที่นุ่ม (Soft Edge) การกระจายของแสงจะสม่ำเสมอ และยังสามารถควบคุมส่วนที่เกินของลำแสงได้โดยใช้ Barn Door เป็นตัวควบคุมได้อีกด้วย
โคมไฟส่องสว่างสำหรับด้านข้างเวที
เป็นแสงเสริม(Fill Light) ให้กับไฟที่ส่องสว่างจากด้านหน้าเวที ในการออกแบบเราจะใช้โคมไฟEllipsoidal ขนาด600 ซึ่งหมายความว่าเมื่อแสงจากไฟที่ส่องมาจากด้านหน้าเวทีตกกระทบกับวัตถุแล้ว จะทำให้เกิดเงาของวัตถุซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีแสงเสริมที่ส่องมาจากด้านข้างของวัตถุ เพื่อลบเงาที่ตกกระทบของวัตถุนั้นเพื่อทำให้วัตถุมีความเด่นชัดขึ้นของรูปทรงมากขึ้น
โคมไฟส่องสว่างด้านหลังวัตถุบนเวที
เป็นแสงที่ส่องให้กับด้านหลังของวัตถุ เพื่อช่วยลบเงาที่เกิดจากแสงที่ส่องมาจากด้านหน้า และด้านข้างของวัตถุและยังช่วยเน้นให้วัตถุนั้นๆ มีรูปทรงมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยแยกตัววัตถุกับฉากหลังให้มีความชัดเจนมากขึ้นเพื่อสร้างมิติของวัตถุได้อีกด้วย โดยการออกแบบได้ใช้โคมไฟชนิด Ellipsoidal ขนาด600วัตต์ และโคมไฟส่องสว่างชนิด Fresnel ขนาด1000วัตต์ ในการส่องสว่างให้กับด้านหลังของวัตถุ
โคมไฟส่องสว่างสำหรับฉาก
เป็นแสงส่องสว่างที่ต้องการส่องสว่างพื้นที่มาก ๆ เพื่อที่จะสร้างบรรยากาศของแสงให้กับฉากหลัง เพื่อตอบสนองกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนเวที โดยการออกแบบได้ใช้โคมไฟชนิด Cyclorama Light ขนาด1000วัตต์ มาใช้เป็นแสงส่องให้กับฉากหลัง ซึ่งโคมไฟชนิดนี้ จะให้คุณลักษณะของการกระจายแสงที่สม่ำเสมอ มีมุมกระจายแสงที่กว้าง จะมีตัว Reflector ที่ใช้ในการสะท้อนแสงที่เป็นชนิด Asymmetrical Reflector โดยได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้ส่องสว่างให้กับพื้นที่ที่มีบริเวณกว้าง และต้องการการกระจายของแสงที่สม่ำเสมอ
การทำงานของระบบ
ภาคควบคุม ใช้อุปกรณ์ควบคุมระบบแสงชนิด Se-mi Automatic Control Desk เพื่อรองรับการใช้งานที่ต้องการความยืดหยุ่นในการใช้งานที่หลากหลายได้ สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงค่าที่บันทึกไว้ในระหว่างการใช้งานได้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีการสื่อสารทางข้อมูลระหว่าง อุปกรณ์ควบคุมระบบแสง (Se-mi Automatic Control Desk) กับ อุปกรณ์หรี่แสงชนิดดิจิตอล (Digital Dimmer) ที่มีสัญญาณในการควบคุมที่เป็นชนิด Digital DMX-512
ระบบจ่ายพลังงาน,เครื่องปั่นไฟ
ตารางการคำนวณค่าสายไฟ
ตารางอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันดีเซลของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
ตารางการเลือกใช้งานขนาดเครื่องปั่นไฟ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานในกรณีที่โหลดเป็นมอเตอร์
ยกตัวอย่างเช่นเครื่องปั่นไฟขนาด 125kva ใช้งานที่ความถี่ 50Hz ควรใช้งานกับมอเตอร์ขนาด 42.5kw (เริ่มต้นโดยตรง) ตามตาราง
การประเมินราคาการรับงาน,แต่ละงานที่รับ
ค่าใช้จ่ายจะขึ้นอยู่กับ
1. เนื้องานจริงๆ ที่ต้องทำว่ามีอะไรบ้าง
2. ค่าใช้จ่ายด้านสถานที่
3. สิ่งของต่างๆ ที่ต้องใช้ในงานนั้นๆ
ว่ามีอะไรบ้าง
4. ต้องมีพิธีกรด้วยหรือไม่
5. ค่าช่างภาพนิ่ง/วิดีโอ
6. จำนวนสต๊าฟที่ต้องใช้ทั้งหมด
ถ้าจะจัดงานแสดงสินค้าตัวหนึ่ง
สโึคปงานเริ่มตั้งแต่ออกแบบบูธให้
การเช่าสถานที่ ไม่มี MC สตาฟให้คำแนะนำกับลูกค้าสัก
2 คน
ราคาจะอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่คะ
บูธคงจะไม่ใหญ่มาก ฟีลประมาณบูธขายคอนโดตามห้าง
1. ขึ้นอยู่กับสถานที่ (เรื่องค่าเช่าที่)
2. ดีไซน์บูธ (ประมาณ 1 หมื่นบาท บวก - ลบ)
3. staff (เริ่มต้นที่
1,000 บาท (แบบมีประสบการณ์))
http://www.rmuti.ac.th/faculty/production/ie/html/Sound_system.htm
http://www.audiocity2u.com/Knowledge-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%9B-%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87
http://www.avl.co.th/article.php?p=10&id=48
รวบรวมเนื้อหาโดย:
นายธเนศ นวลอยู่