โฆษณาไทย ฮาๆ ถุงละ 20 Thai Ad


เวลา
คำพูดตัวละคร
ท่าทางตัวละคร
รูปภาพตัวละคร
0:00-0:02
ป้า:15 แล้วกัน 15นะๆ
ชายคนนึงกำลังนั่งขายมะนาว แล้วมีป้าคนนึงมาขอซื้อมะนาวในราคาที่ถูกกว่าเดิม


0:03-0:04
คนขายมะนาว:20ล่ะครับ
คนขายมะนาวแสดงอาการปฏิเสธกับป้าที่มาซื้อมะนาว


0:04-0:18
ป้า:ต่อมาเป็นชั่วโมงละ ยี่สิบๆอยู่นั่นแหละ
คนขายมะนาว:20ครับ
ป้า:15น่ะดีแล้ว,17ก็ได้เอา,19อ่ะ ให้ป่ะ
ป้ากับคนขายมะนาวก็ยังต่อราคากันไปเรื่อยๆ


0:19-0:26
ผู้บรรยายโฆษณา:ต่อกันบาทสองบาท แล้วติดเครื่องทิ้งไว้เป็นชั่วโมง น้ามันน่ะ มันหมดไปกี่ร้อยแล้วครับคุณพี่
คนขายกับป้าก็ยังต่อราคากันต่อไป


0:26-0:30
ผู้บรรยายโฆษณา:ประหยัดพลังงาน ประหยัดเงิน ช่วยชาติ
นักแสดงออกมายืนชูป้าย ยืนตรงแสดงความเรียกร้องต่อผู้ชม



ที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=9OjqtZN2axo&ebc=ANyPxKrONyK4RBvk3b6ZMAXgJEKXK_0xyY5vZntpddPjkAJj0eA6c2yVooTSrwacNl3nVCtvMx-a99gBwGYNAf5l2ok1bDe5PA


หลักการกำเนิดสัญญาณระบบกล้องโทรทัศน์

กล้องโทรทัศน์
      คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับภาพ และจับรายละเอียดของภาพ เพื่อส่งข้อมูลไปเก็บไว้ในสื่อบันทึกภาพ รายละเอียดและความชัดเจนของภาพจึงขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของกล้องที่ใช้สำหรับจับภาพนั่นเอง หลักการทฤษฎีพื้นฐานคือเปลี่ยนภาพที่เราเห็นด้วยตาให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า และสัญญาณไฟฟ้านี้จะเปลี่ยนให้เห็นเป็นภาพได้อีกทีหนึ่ง  กล้องจึงมีความสำคัญมากในการรับภาพเพื่อผลิตรายการโทรทัศน์ และสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ อุปกรณ์ในการผลิต ซึ่งประกอบไปด้วย กล้องโทรทัศน์ เครื่องบันทึกเทปโทรทัศน์ อุปกรณ์แสง อุปกรณ์เสียง เทปโทรทัศน์ เป็นต้น





พื้นฐานการทำงานของกล้องมีกระบวนการดังนี้

(a) วัตถุ ( Object )      วัตถุที่เรามองเห็นเกิดจากการตกกระทบของแสงไปบนวัตถุ แล้วหักเหเข้าสู่สายตาของเราจนเกิดเป็นภาพ ตามลักษณะการสะท้อนแสงของวัตถุแต่ละชนิดที่ไม่เหมือนกัน
(b) เลนส์ ( Lens )      แสงที่สะท้อนจากวัตถุ จะถูกเลนส์เก็บรวบรวมแล้วปรับความชัดส่งไปยังผิวหน้าของหลอดรับภาพ
(c) หลอดรับภาพ ( Camera Tube )      จะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ที่เรียกว่า เป็นสัญญาณภาพ ( Video ) และถูกส่งไปขยายสัญญาณขึ้นที่เครื่องขยายภาพ
(d) เครื่องขยายภาพ ( Amplifier )
      จะทำการขยายสัญญาณเล็กที่ได้จากหลอดรับภาพ ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นให้เหมาะสม เพื่อส่งสัญญาณไปตามสาย ส่งไปยังหน่วยควบคุมกล้อง CCU
หน่วยควบคุมกล้อง CCU ( Camera Control Unit )       เป็นส่วนที่ควบคุมการทำงานของกล้องและดูแลการทำงานของสัญญาณภาพ แล้วหลังจากนั้นสัญญาณจะถูกส่งไปมอนิเตอร์
(e) เครื่องสร้างภาพหรือมอนิเตอร์ ( Monitor )
      จะทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณภาพ และสัญญาณไฟฟ้าส่วนหนึ่งจะถูกส่งไปยังช่องมองภาพของกล้องที่กำลังถ่ายทำอยู่นั้น และถูกส่งไปยังห้องส่งหรือห้องควบคุมต่อไป





กล้องโทรทัศน์สี

 กล้องโทรทัศน์สีมีหลักการทำงานเหมือนกันกับกล้องโทรทัศน์ขาวดำ นั่นคือทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้า แต่การทำงานของกล้องโทรทัศน์สีมีกระบวนการและวิธีการที่ยุ่งยากมากกว่า กล้องโทรทัศน์ขาวดำจะรับแสงสีขาวเข้าไปในหลอดรับภาพ ส่วนกล้องโทรทัศน์สีจะแยกสีขาวออกเป็นสีต่าง ๆ ถึง 3 สี คือ สีแดง น้ำเงิน และเขียว หลังจากนั้นแต่ละสีจะถูกส่งไปหลอดรับภาพที่ไวต่อแสงสีต่าง ๆ กันทั้ง 3 สี (ในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาหลอดรับภาพหลอดเดียวแต่แยกรับแสงทั้ง 3 สี ได้ยิ่งกว่านั้นอาจไม่ใช้หลอดก็ได้ เรียกว่า CCD การแยกรับสีต่างๆ ของแสงดังกล่าวเรียกว่า Chrominance channels (Chroma แปลว่า สี color) สมัยก่อนช่องรับแสงนั้นแยกออก เป็น 4 ช่องนั่นหมายถึงมี หลอดรับภาพ 4 หลอด หลอดที่ 4 เป็นหลอดแยกความแตกต่างของสีดำและขาว เพื่อให้ภาพสว่างมากน้อยตามต้องการเรียกช่องนี้ว่า Luminance channel(lumon แปลว่าแสงlight) แต่ในปัจจุบันนี้หลอดที่ 4 หรือช่องที่ 4 ไม่จำเป็น เพราะใช้หลักการรวมแสงสีทั้ง 3 สีเป็นแสงสีขาวอีกครั้งแล้วจะได้ภาพขาวดำนั่นเอง ช่องที่ทำให้สัญญาณภาพมีความคมชัดมีรายละเอียดคือช่องของสีเขียวดังนั้น จึงเรียกช่องนี้ว่า "Contours-out-green" หลังจากที่เลนส์รับแสงเข้าไปแล้วแสงจะถูกแยกออกโดยกระจกชุดของไดโครอิค (dichroic) ออกเป็น 3 สี กระจกแยกสี D1 จะแยกสีแดงออกไปขณะเดียวกันจะปล่อย ให้แสงสีน้ำเงินและเขียวผ่านเข้าไป กระจกแยกสี D2 จะแยกสีน้ำเงินออกไป และปล่อยให้แสงสีเขียวผ่านเข้าไปส่วนกระจกธรรมดา M1 และ M2 เป็นกระจกที่สะท้อนให้แสงสี แดงและน้ำเงินเข้าไปในหลอดรับภาพตามลำดับ แน่นอนการเดินทางของแสงแต่ละสีเข้าไปในหลอดรับภาพจะต้องมีเลนส์ช่วย เพื่อให้แสงมีความคมชัดตลอดเวลา R1,R2 และ R3 จะช่วยแสงสีแดง เขียวและน้ำเงิน ให้แสงมีความคมชัดตลอดเวลา ในกรณีที่อาจจะมีแสงบางสีที่ไม่ต้องการไปรบกวนซึ่งกันและกันจะมีฟิลเตอร์ (Filters) กรองสีต่างๆ ให้ถูกต้องอีกครั้ง คือ F1,F2 และ F3 จะช่วยกรองแสงสีแดง เขียว และน้ำเงิน ตามลำดับ

อย่างไรก็ตามเนื่องจากว่ากระจกสะท้อนและเลนส์ปรับความคมชัดของแสง มีการจัดเรียงได้ยาก ดังนั้นอาจใช้วิธีแก้ไขโดยรวมเอากระจกแยกสี (Diachronic) ฟิลเตอร์ (Filters) และปริซึ่ม (Prisms) รวมอยู่ในชุดปริซึ่มแยกลำแสงเดียวกัน (Beam-Split Prism) และหลอดรับภาพก็รับภาพโดยตรงจากปริซึ่ม ไม่จำเป็นต้องใช้เลนส์ปรับความคมชัดของแสง เนื่องจากปัจจุบันได้มีวิวัฒนาการก้าวหน้ามาก กล้องโทรทัศน์อาจมี 2 หลอดคือรับ สีของแสงเพียง 2 สี ส่วนสีที่ 3 จะเปลี่ยนแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์และนำไปใช้ร่วมกันกับสีทั้งสองในภายหลัง ยิ่งไปกว่านั้นกล้องโทรทัศน์ บางชนิดอาจมีเพียงหลอดเดียว เช่น หลอด Saticon ซึ่งผิวหน้าของหลอดฉาบไว้ด้วย แถบฟิลเตอร์ เพื่อแยกสีทั้ง 3 สี แถบแนวตั้งทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงสัญญาณในลักษณะเดียวกันกับกล้องโทรทัศน์สี 3 หลอดนั่นเอง หรืออาจไม่มีหลอดแต่ใช้วัสดุอื่นแทนหลอดก็ได้





 ขณะที่กล้องโทรทัศน์กำลังจับภาพใดอยู่นั้น มันก็จะแยกแสงจากภาพนั้นออกเป็นแม่สีทั้งสาม ( RGB ) และส่งแต่ละสีไปยังหลอดสีต่างๆในกล้อง โดยผ่านทางแก้วรับแสงที่เรียกว่า "จานสัญญาณ" (Signal Plate) ด้านหลังจานสัญญาณนี้มี “เป้า” (Target) ซึ่งก็คือชั้นของสารที่นำไฟฟ้าได้ เมื่อโดนแสงกระทบ แสงที่ผ่านชั้นสารดังกล่าวนั้นยิ่งสว่างมากขึ้นเท่าใด ปริมาณไฟฟ้าก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น แสงทำให้เกิดเป็นลวดลายของประจุไฟฟ้า พื้นที่ซึ่งมีแสงสว่างที่สุด ก็คือพื้นที่ซึ่งมีประจุไฟฟ้ามากที่สุด
      ในหลอดสีแต่ละหลอดของกล้อง ลำแสงอิเล็กตรอน(รังสีแคโทด) จะส่องไปยังเป้าจากทางด้านหลัง ลำแสงจะเคลื่อนจากซ้ายไปขวาและกวาดเป้าจากบนไปล่างเป็นเส้นแนวนอนชุดหนึ่ง ขณะที่ลำแสงกราดไปนั้น มันก็จะไปเสริมกำลังให้ประจุไฟฟ้าและคอยเติมพลังให้ประจุไฟฟ้าซึ่งอ่อนกำลังลงระหว่างการกวาด(Scan) นั้นให้เต็มอยู่เสมอ บริเวณซึ่งสว่างที่สุดต้องเติมมากที่สุด การเติมกำลังนี้สะท้อนให้เห็นลวดลายประจุไฟฟ้าซึ่งก่อให้เกิดสัญญาณไฟฟ้าผ่านไปยังจานสัญญาณที่เชื่อมอยู่กับวงจรรับสัญญาณ กระแสไฟจะไหลผ่านวงจรด้วยแรงดันไฟฟ้าที่แตกต่างกันไปตามระดับความสว่าง
 
      การยิงกราดลำแสงในแต่ละครั้งจะจับเพียงครึ่งของ "สนาม" (field) ของภาพ คือ กวาดครั้งแรกด้วยเส้นเลขคี่แล้วก็เส้นเลขคู่ ขั้นตอนนี้จะให้ภาพที่สมบูรณ์ทุก ๆ 1/25 วินาที ดวงตาของมนุษย์เก็บภาพไว้ได้ 1/25 วินาที ดังนั้นภาพ 1 ชุด ที่วิ่งไปด้วยอัตราความเร็วนี้จึงดูเหมือนเป็นภาพเดียวต่อกันไป ถ้าหากวิ่งช้าลง ภาพที่ปรากฏบนจอจะดูไหวและกระตุกมากขึ้น ที่ต้องยิงลำแสงกวาดภาพถึง 2 ขั้น ก็เพราะการกวาดพื้นที่ภาพทั้งหมดในครั้งเดียวด้วยความเร็วที่ต้องการนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยากทางเทคนิค
      ลำแสงอิเล็กตรอนยิงกวาดด้วยความเร็วที่กำหนดทำให้เกิดเส้น 625 หรือ 525 เส้น แล้วแต่ระบบที่ใช้ แต่ระบบ 625 เส้นให้ความคมชัดมากกว่าระบบ 525 เส้น ระบบ 625 เส้นนี้ใช้กันในยุโรป ออสเตรเลีย และหลายแห่งในเอเชีย ส่วนระบบ 525 เส้น ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ในอเมริกาเหนือและใต้ และประเทศญี่ปุ่น








การนำไปใช้งาน

นำเอาไปประยุกต์ใช้กับการถ่ายทอดทางทีวี เพื่อการรับชมข่าวสาร ข้อมูลต่างๆ
สะดวก ง่ายต่อการใช้งาน



เทคโนโลยีการบันทึกภาพและเสียง


1. เทคโนโลยีการบันทึกข้อมูล
          การทำงานของมัลติมีเดียประกอบไปด้วยภาพและเสียง การบันทึกภาพไว้ในคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่สิ้นเปลืองหน่วยความจำเป็นอย่างมาก ตัวอย่าง เช่น ถ้าต้องการเก็บภาพขนาด720 + 485 ชุด ด้วยความละเอียดของภาพเป็น 22 บิทต่อจุด หมายความว่าการเก็บภาพเดียวไว้จะต้องใช้เนื้อที่ของฮาร์ดดิสถึง 960,300 ไบท์ แต่ถ้าจะเก็บภาพเคลื่อนไหวประกอบด้วยภาพเป็นแฟรม อาจเป็น 30 แฟรมต่อวินาที หมายความว่าการเก็บภาพวีดีโอเพียรหนึ่งวินาทีลงในฮาร์ดดิสก็ต้องใช้เนื้อที่ฮาร์ดดิสมากกว่า 30 เมกกะไบท์ การบันทึกเสียงลงดิสก์นั้นกินเนื้อที่น้อยกว่า เช่น การบันทึกในระบบสเตอริโอลงดิสก์ในเวลาหนึ่งวินาทีใช้เนื้อที่ดิสก์เพียง 44 กิโลไบท์ แต่อย่างไรก็ตามในการทำงานจริง ผู้สร้างไม่ได้บันทึกภาพหรือเสียงไว้เพียงแต่หนึ่งวินาที ดังนั้นความจุของสื่อเก็บข้อมูลจึงเป็นข้อจำกัดในการพัฒนามัลติมีเดีย เพราะต้องการสื่อที่มีคุณภาพสูงแต่ราคาย่อมสูงตาม การแก้ปัญหาของหน่วยเก็บข้อมูลที่ต้องมีขนาดใหญ่และราคาถูกนั้น ได้แก้ไขด้วยการนำเอาเทคโนโลยีทางการบันทึกข้อมูลด้วยแสงเข้ามาใช้ (Optical Technology) ก็คือพัฒนา CD-ROM ซึ่งกำลังมีบทบาทอย่างมากในระบบมัลติมีเดียในปัจจุบัน
2. เทคโนโลยีการย่อขนาดของข้อมูล
          การย่อข้อมูลที่มีประสิทธิภาพจะเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพราะถ้าเก็บภาพจากจอที่มีความละเอียด 1024 + 768 จุด โดยที่ไม่มีการย่อขนาดข้อมูล ก็จะกินเนื้อที่ดิสก็มากกว่า 1 เมกะไบท์ ยิ่งถ้าเป็นการเก็บในลักษณะเป็นวิดีโอในหนึ่งวินาทีที่มีความเร็ว 30 เฟรม อาจใช้เนื้อที่มากกว่า 80 เมกกะไบท์ ดังนั้นการย่อขนาดแฟ้มข้อมูลจึงมีความจำเป็นมากที่จะต้องมีการลดขนาดของข้อมูลให้ลดลงมากที่สุด โดยยังคงความสมบูรณ์ถูกต้องของเนื้อหาไว้ ในระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย การใช้มัลติมีเดียอาจไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความจุของหน่วยเก็บข้อมูลเพราะในระบบนี้อาจมีหน่วยเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ แต่สิ่งที่ต้องคำนึงคือความสามารถของระบบ ในการที่จะขนส่งข้อมูลผ่านระบบสายเคเบิล เช่น ระบบสายเคเบิลที่เป็นสาย Coaxial ถ้าต้องใช้การขนส่งข้อมูล 80 เมกกะไบท์ อาจต้องใช้เวลาหลายนาที ดังนั้นถ้าเทคโนโลยีการลดขนาดข้อมูลมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อความหมายของมัลติมีเดียกับคอมพิวเตอร์ระบบใด ๆ ก็จะมี่ประสิทธิภาพตามไปด้วย
3. เทคโนโลยีไมโครคอมพิวเตอร์
          การทำงานของคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเป็นการทำงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลในปริมาณมหาศาลกระบวนการย่อและขยายขนาดข้อมูล จะต้องเกิดอย่างรวดเร็วมากพอที่จะทำให้การติดต่อส่งข้อมูลระหว่างหน่วยความจำและอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่เกิดการหยุดชะงักหรือล่าช้า เพราะถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้จะทำให้การแสดงผลทั้งภาพและเสียงผิดพลาดไปจากที่เกิดจริง ในขณะเดียวกันการใช้ CD-ROM ก็คือความเร็วซึ่งช้ากว่าฮาร์ดดิสก์มาก จึงมีปัญหาในการที่จะส่งข้อมูลให้กับหน่วยความจำที่ไม่เร็วพอการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานด้วยความเร็วสูงจึงมีความจำเป็นอย่างมาก การพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ PENTIUM จึงมีบทบาทสำคัญที่ทำให้การพัฒนาระบบมัลติมีเดียประสบความสำเร็จ
4. เทคโนโลยีภาพ
          จอภาพที่เป็นสีจอแรกที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่าจอ CGA นั้นให้ความละเอียดในการแสดงผลเพียง 320 + 200 จุด ในปัจจุบันการพัฒนาจอ Super VGA สามารถทำให้ได้ความละเอียดของภาพได้ถึง 1024 + 768 จุด และให้สีได้ถึง 16.7 ล้านสี ระบบมัลติมีเดียจะยิ่งเร้าความสนใจมากขึ้นเป็นทวีคูณ ถ้าเทคโนโลยีจอภาพคอมพิวเตอร์สามารถสร้างภาพได้คมชัดมากขึ้นและเป็นสีธรรมชาติมากขึ้น ถ้าเทคโนโลยีจอภาพของ HDTV พัฒนาได้สมบูรณ์ถึงระดับและมีการพัฒนาเป็นจอภาพ Monitor ของระบบคอมพิวเตอร์แล้วระบบมัลติมีเดียจะยิ่งน่าสนใจมากขึ้น นอกเหนือจากเทคโนโลยีจอภาพอื่น ๆ ที่ได้พัฒนาในปัจจุบัน เช่น Touch-Screen Monitor
5. เทคโนโลยีอุปกรณ์ป้อนข้อมูล
          การติดต่อกับคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้เดิม ทำได้โดยการป้อนคำสั่งผ่านคีย์บอร์ด ซึ่งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานเพียงอย่างเดียว การพัฒนาเมาส์ จอระบบสัมผัสทำให้การติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างสะดวกและง่ายขึ้น
6. เทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย
          สิ่งที่ระบบคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเข้าไปมีบทบาทร่วมกับระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย ได้แก่การติดต่อสื่อสาร Electronics Mail ซึ่งเดิมเป็นการติดต่อที่เป็นลักษณะ Text Baseเท่านั้นนับว่าเป็นการนำเอาสองเทคโนโลยีมาใช้ร่วมกันทำให้การติดต่อสื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำได้ทั้งที่เป็นภาพและเสียง การใช้งานระบบมัลติมีเดียจะเข้าหามวลชนมากขึ้น ถ้าเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์พัฒนาถึงระดับเนื่องจากสามารถกระจายได้หลาย ๆ จุดในเวลาเดียวกัน
7. เทคโนโลยีซอฟท์แวร์
          สิ่งที่ทำให้โลกของคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเป็นจริงขึ้นมาส่วนหนึ่งก็คือ การพัฒนาของซอฟท์แวร์ที่มีประสิทธิภาพสูง และมีการใช้งานได้ง่ายขึ้นและประการสำคัญที่สุดก็คือความเหมาะสมกับเนื่อหาหรือข้อมูลที่จะนำเสนออีกทั้งยังจะต้องมีความอ่อนตัวในการประยุกต์เข้ากับส่วนอื่น ๆ ของระบบ ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตได้มีการตื่นตัวอย่างสูงในการพัฒนาซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์สำหรับการสร้างสรรค์งานมัลติมีเดีย เนื่องจากผู้ที่เกี่ยวข้องได้เล็กเห็นถึงความเป็นธรรมชาติในการสื่อความหมายของระบบมัลติมีเดียและแนวโน้มของการพัฒนาต่อไป
8. เทคโนโลยีการสื่อความหมาย ข้อมูลนำเสนอและวิธีการ
          สิ่งนี้นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญในระดับต้นที่จะทำให้ระบบมัลติมีเดียสมบูรณ์ เพราะถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียจะพัฒนาเทคโนโลยีทุก ๆ ด้านก็ตาม แต่ถ้าขาดข้อมูลนำเสนอที่ดี วิธีการนำเสนอที่ไม่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายตลอดจนไม่ได้พิจารณาถึงการใช้เทคโนโลยีการสื่อความหมายที่ดีแล้ว ระบบมัลติมีเดียที่ได้พัฒนานั้นก็จะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผู้สร้างสรรค์ระบบมัลติมีเดียจึงควรจะต้องพิจารณาเทคโนโลยีด้านนี้ด้วยเป็นประการแรก

การจับภาพระบบดิจิทัล
เนื่องด้วยคุณสมบัติของภาพและเสียงระบบดิจิทัลที่เอื้อประโยชน์ในการใช้งานอย่างหมากหลายในการเรียนการสอน จึงทำให้ผู้สอนนิยมใช้เทคโนโลยีดิจิทัลแทนแอนะล็อกที่ใช้กันมาแต่เดิม
การจับภาพระบบดิจิทัล (digital video capture) เป็นการใช้การ์ดจับภาพ ซึ่งเป็นการ์ดส่วนขยายใส่เพิ่มในคอมพิวเตอร์ โดยเสียบการ์ดเข้าไปในช่องเสียบและส่วนปลายจะเป็นแจ๊กช่องนำเข้าสัญญาณภาพอยู่ด้านหลังของคอมพิวเตอร์ การ์ดจับภาพและซอฟแวร์จะแปลงสัญญาณภาพและเสียงให้เป็นดิจิทัลและบีบอัดให้มีขนาดเล็กเพื่อบันทึกลงฮาร์ดดิสก์ของคอมพิวเตอร์



การอัดเสียงธรรมชาติแบบอนาล็อก Acoustic analog recording
    คือผลจากการที ไดอะแฟรม diaphragm ขนาดเล็กของไมโครโฟนสามารถจับความเปลี่ยนแปลงของแรงดันอากาศ (คลื่นเสียงในอากาศ acoustic sound waves) และบันทึกพวกมันเหมือนเขียนภาพเหมือนของคลื่นเสียงลงบนสื่อ เช่นจานหรือแผ่นเสียง phonograph ซึ่งใช้หัวเข็มสัมผัสการบันทึกที่วนไปตามร่องของแผ่นเสียง
    ในการอัดด้วยเทปแม่เหล็ก magnetic tape คลื่นเสียงสั่นสะเทือน ไดอะแฟรม ของไมโครโฟน และถูกเปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้าที่มีการขึ้นๆลงๆ(ตามคลื่นเสียง) และเปลี่ยนเป็น สนามแม่เหล็ก magnetic fieldที่มีการขึ้นๆลงๆ ด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า electromagnet (หัวเทป) ซึงเป็นการสร้างตัวแทนของคลื่นเสียงด้วย พื้นที่แม่เหล็ก magnetized areas บนพลาสติกเทปกับผงแม่เหล็กที่ฉาบบนผิวของมัน
    ส่วนการเล่นหรือผลิตซ้ำ reproduction ของเสียงแบบอนาล็อกก็ทำด้วยวิธีการย้อนกลับจากการบันทึก โดยมีไดอะแฟรมของลำโพงซึ่งใหญ่กว่าเป็นตัวสร้างความเปลี่ยนแปลงของแรงดันอากาศ เพื่อเกิดคลื่นเสียงให้เราได้ยิน
    คลื่นเสียงสามารถสร้างด้วยวิธีการทางอีเล็กทรอนิก และอัดจากอุปกรณ์บางอย่างได้โดยตรงเช่น ปิคอัพกีตาร์ไฟฟ้า electric guitar pickup หรือเครื่องสังเคราะห์เสียง synthesizer โดยไม่ต้อง ใช้อะคุสติก ในกระบวนการอัดเสียง นอกเสียจากเสียงที่นักดนตรีต้องการได้ยิน ขณะทำการบันทึก recording sessions เท่านั้น




การบันทึกและการผลิตซ้ำแบบดิจิตอล Digital recording and reproduction
    เป็นการแปลงสัญญาณเสียงอนาล็อกที่มาจากไมโครโฟน แหล่งกำเนิดอื่นๆ ให้เป็นรูปแบบดิจิตอล ด้วยกระบวนการคำนวณทางตัวเลข digitization, ทำให้มันสามารถบันทึกและส่งสัญญาณ transmitted ด้วยสื่อตัวกลาง media ที่กว้างขวางหลากหลาย และมีประสิทธิภาพสูง
    การบันทึกแบบดิจิตอล เก็บข้อมูลเสียงด้วยชุดของเลขฐานสอง (ชุดรหัส1กับ0) เพื่อเป็นตัวแทนของตัวอย่างสุ่ม samples ของความกว้างคลื่น amplitude ของสัญญาณเสียง audio signal ที่ช่วงเวลาของเสียงที่เท่ากัน ที่อัตราการสุ่มตัวอย่าง sample rate ในความรวดเร็วที่หูของมนุษย์สามารถรับรู้ผลของการต่อเนื่องของเสียงได้
    การบันทึกแบบดิจิตอล จึงเป็นที่เชื่อถือว่ามีคุณภาพสูงกว่าการบันทึกแบบอนาล็อก ไม่ใช่เพียงเพราะว่า มีความถูกต้องแม่นยำกว่า higher fidelity (การตอบสนองความถี่ frequency response หรือ ขอบเขตพลังงาน dynamic range) แต่เป็นเพราะว่า รูปแบบ ดิจิตอล digital format สามารถป้องกันการสูญเสียคุณภาพอย่างมากซึ่งเกิดขึ้นในการบันทึกแบบอนาล็อก ทั้งเสียงรบกวน noise และ การรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า electromagnetic interference ในขณะเล่นกลับ playback และการเสื่อมสภาพของระบบกลไก หรือเกิดการชำรุดเสียหายขึ้นกับ สื่อกลาง storage medium ที่ทำการบันทึก
    สัญญาณเสียงดิจิตอล digital audio จะต้องถูกแปลงกลับเป็น รูปแบบอนาล็อก ระหว่างการเล่นกลับ ก่อนที่จะนำไปใช้กับลำโพงหรือหูฟัง loudspeaker or earphones






อุปกรณ์ในการตัดต่อสัญญาณภาพและการสร้างภาพพิเศษ

การตัดต่อภาพ
EDIT
    E   :   Elect        :   เลือก shot ที่ดีที่สุด
    D   :   Decision     :  ตัดสินใจ อย่าเสียดาย shot
    I   :   Integrate    :  นำ shot มาร้อยเรียง เชื่อมโยงผสมผสาน
    T   :   Terminate    :  ทำให้สิ้นสุด จบลงด้วยดี
การตัดต่อ Editing
คือ  การนำเสนอภาพหลายภาพมาประกอบกันให้เป็นเรื่องราว  โดยการนำรายละเอียดของภาพและเหตุการณ์ที่สำคัญจากม้วนเทปที่ได้บันทึกไว้หลายๆม้วน  มาทำการเลือกสรรภาพใหม่ เพื่อเรียงลำดับให้ได้เนื้อหาตามบท  
ภาพแต่ภาพที่นำมาลำดับไม่จำเป็นต้องสำคัญเท่ากันทุกภาพ  ความสำคัญอาจจะลดหลั่นลงไปตามเนื้อหา  ภาพบางภาพเป็นหัวใจของการเกิดของเหตุการณ์  แต่บางภาพอาจเป็นส่วนประกอบ
การตัดต่อภาพแต่ละครั้งจะทำให้ผู้ชมถูกกระตุ้นความรู้สึกขึ้นครั้งหนึ่ง แล้วความรู้สึกนั้นค่อยๆ ลดลง จนกระทั่งมีการตัดภาพใหม่อีกครั้งหนึ่ง  ถ้าความยาวของภาพพอเหมาะ อารมณ์ของผู้ชมจะถูกกระตุ้นตามจังหวะ  ถ้าความยาวของภาพมากไป  อารมณ์ของผู้ชมจะราบเรียบไม่ตื่นเต้น
การตัดต่อ มี 4 วิธี คือ
1.  การเชื่อมภาพ (Combine)
     เป็นการนำภาพที่ถ่ายไว้ทั้งหมดมาเรียงลำดับ  โดยการเชื่อมภาพหรือ shot แต่ละ shot เข้าด้วยกันตามลำดับให้ถูกต้องตามบทโทรทัศน์  การเชื่อมภาพส่วนใหญ่จะใช้ในการผลิตนอกสถานที่ที่ใช้กล้องโทรทัศน์ตัวเดียว  สำหรับงานที่ผลิตในสตูดิโอที่มีกล้องหลายตัว ส่วนใหญ่มักจะเชื่อมภาพระหว่างการถ่ายทำ แต่ก็มีบ้างที่มาเชื่อมหลังการถ่ายทำ
2.  การย่นย่อภาพ (Condense)
     เป็นการตัดต่อภาพเพื่อให้ได้เนื้อหาที่ต้องการจะสื่อสารในเวลาที่จำกัด  เช่น  การตัดต่องานข่าว โฆษณา   การตัดต่อเพื่อย่นย่อภาพนี้ เนื้อหาของภาพจะต้องกระชับ และได้ใจความในเวลาที่จำกัด  ฉะนั้นผู้ตัดต่อต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างมากในการย่นย่อภาพ  เพื่อให้ได้ความหมายที่ชัดเจนที่สุดเพื่อเสนอต่อผู้ชม
3.  การแก้ไขภาพ (Correct)
     เป็นการแก้ไขส่วนที่ผิดพลาดในการผลิต  โดยการตัดภาพหรือเสียงที่ไม่ต้องการออกไป  หรือแทรกภาพใหม่และเสียงใหม่เข้าไปแทนที่ภาพและเสียงเดิมได้  นอกจากนั้นความผิดพลาดที่เกิดจากสีและระดับเสียงที่เกิดจากการถ่ายแต่ละครั้ง (Take) แต่ละวันไม่เท่ากัน หรือความไม่ต่อเนื่องของภาพ (Continuty) ทิศทางของภาพ (Directional) ไม่ถูกต้อง  การตัดต่อสามารถแก้ไขได้
4.  การสร้างภาพ (Build)
     เป็นการตัดต่อโดยใช้อุปกรณ์พิเศษของเครื่องตัดต่อ เช่น การทำภาพจาง (Fade) ภาพจางซ้อน (Dissolve) กวาดภาพ (Wipe) หรือเทคนิคอื่นๆ เข้าช่วย เพื่อให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกว่าฉากนี้ได้เปลี่ยนเวลา เปลี่ยนสถานที่ เปลี่ยนสถานการณ์แวดล้อม
ระบบการตัดต่อ
มี 2 แบบ คือ ระบบ  Linear  และ  Non-Linear
Linear            :   ตัดต่อโดยใช้เครื่องเล่น (player) และบันทึกวิดีโอเทป (recorder)
                      :   การลำดับภาพต้องทำไปตามลำดับก่อน-หลังของเนื้อหาตั้งแต่ต้นจนจบ
                      :   ถ้าต้องการจะแก้ไขงานในจุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ความยาวของเทปเปลี่ยนไป  ต้องลำดับภาพใหม่ตั้งแต่จุดนั้นไปจนถึงจุดสุดท้าย 
                      :   เป็นการลำดับภาพโดยใช้เทปเป็นหลัก
Non-Linear    :    ตัดต่อบนเครื่องคอมพิวเตอร์                                                                       :    ลำดับภาพโดยใช้คอมพิวเตอร์ ภาพวิดีโอที่ถูกถ่ายมาจะต้องทำการแปลงสัญญาณภาพเป็นข้อมูลของคอมพิวเตอร์ก่อน แล้วโปรแกรมตัดต่อจะดึงเอาข้อมูลที่เก็บไว้ในฮาร์ทดิสก์ มาแสดงออกเป็นภาพอีกครั้ง
                       :    การลำดับภาพโดยใช้ฮาร์ทดิสก์เป็นหลัก
ข้อดีของระบบ Non-Linear
ลงทุนต่ำ
ค้นหาและคัดเลือกภาพได้สะดวกรวดเร็ว   ไม่ต้องกรอกลับไป-มาเหมือนเทป
เลือกทำงานเป็นช่วงได้ตามอิสระ  ไม่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตั้งแต่ต้นจนจบ
ไม่เสียความคมชัดของภาพ
ขั้นตอนการตัดต่อด้วยระบบ Non-Linear
1. เลือกภาพที่ต้องการจะนำมาใช้
2.นำเอาภาพเข้าไปเก็บในฮาร์ทดิสก์  :  capture หรือ digitise
3.ตัดต่อ
4.นำงานที่อยู่ในเครื่องตัดต่อลงเทป
การจด Time code (TC)
เพราะเราไม่สามารถเห็นเฟรมต่างๆในวิดีโอเทปได้  เราจึงต้องใช้สัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า “Time code”  เพื่อจะได้รู้ว่าภาพที่เราเห็นอยู่นั้นอยู่ตรงไหน   และมีความยาวเท่าไหร่   โดยจะบอกตัวเลขเป็น  ชั่วโมง : นาที : วินาที : เฟรม
     เช่น   01 : 10 : 15 : 25

Transitions
Fade        :  ภาพจาง
                :  มี 2 แบบ คือ
                   Fade in การเชื่อมภาพที่เปลี่ยนจากจอมืดมาเป็นภาพ
                   Fade out การเปลี่ยนจากภาพมาเป็นจอมืด
                :  มักใช้ตอนเริ่มต้นและตอนจบของรายการ
                :  บอกถึงการเปลี่ยนฉาก เวลาผ่านไปแล้ว
Wipe        :  การกวาดภาพ
                :  การเชื่อมภาพ 2 ภาพบนหน้าจอ  โดยภาพที่ 1 ถูกแทนที่ด้วยภาพที่ 2
                :  เลือกจาก Wipe Pattern ให้เลือกใช้  เช่น รูปแบบสี่เหลี่ยม  สามเหลี่ยม  วงกลม  ข้าวหลามตัด  ฯลฯ
Dissolve   :   ภาพจางซ้อน
                 :   นำ 2 ภาพมาซ้อนกัน  ภาพหนึ่งค่อยๆ จางออกไป  ในขณะที่อีกภาพหนึ่งค่อยๆ จางเข้ามาแทนที่
                 :   แสดงถึงกาลเวลาที่ผ่านไป 
                 :   mix / lap-dissolve
Cut           :   การนำภาพมาเรียงต่อกันอย่างรวดเร็ว
                 :   เป็นการเชื่อมต่อภาพที่ใช้บ่อยมากที่สุด
การตัดต่อแบบต่างๆ
Reaction Shot
       :  shot ที่แสดงให้เห็นอีกด้านหนึ่งของการกระทำ
       :  ได้จากการ insert ภาพ

Over Re-action
       :  แบบเกินจริง  ตัดซ้ำๆๆ อย่างตั้งใจ

Quick Cut
       :   ตัดแบบเร็วๆ  เพื่อดึงความสนใจและให้กระชับ
Cut on Action
      :   ตัดระหว่างเคลื่อนไหว
      :   การเปลี่ยน shot ขณะที่คนกำลังจะนั่งลงหรือกำลังจะลุกขึ้น แล้วตัดภาพไปรับที่ shot ใหม่อีกมุมหนึ่งในกิริยาที่ต่อเนื่องกัน






Split Edit
      :   ตัดโดยให้เสียงหรือภาพมาก่อน  แทนที่จะให้เสียงและภาพเปิดขึ้นมาพร้อมกัน
การเกิดภาพกระโดด (Jump Cut)
การที่มีบางภาพหายไปจากกลาง shot ที่ควรจะเชื่อมระหว่าง shot แรก กับ shot สุดท้าย ทำให้ภาพดูไม่ต่อเนื่องกัน
การตัดภาพที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก บุคคลคนเดียวกัน ขนาดภาพเท่ากัน
การตัดภาพที่มีขนาดต่างกันมาก  เช่น จากภาพ VLS เป็น CU







การสร้างเทคนิคพิเศษทางภาพ (Visual Effect)





คำว่า Visual Effect แปลให้เข้าใจได้ว่า "การสร้างเทคนิคพิเศษทางภาพ" ซึ่งมีการแบ่งรูปแบบการสร้างงานไว้หลายลักษณะ ด้วยเหตุผลทางด้านความปลอดภัย เงินทุน และการตอบสนองทางศิลปะ กล่าวคือ การสร้างเทคนิคพิเศษทางภาพ มีเจตนาเพื่อนำภาพที่สร้างไปผสมรวมกับ ภาพที่ถ่ายทำจริง(Live Action) เพื่อความปลอดภัยกับนักแสดง เช่นการถ่ายบนคียย์สกรีน เพื่อแยกนักแสดงกับฉากระเบิดของรถ แล้วนำมาผสมภาพกันภายหลัง หรือเพื่อ การประหยัดต้นทุน เช่นการถ่ายฉากย่อส่วนของเมืองที่ปรักหักพัง แล้วนำมาฉายภาพด้านหลังตัวแสดง(Rear Projection) เพื่อให้เกิดภาพว่านักแสดงยืนอยู่ท่ามกลางเมืองใหญ่ที่ล่มสลาย เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า การสร้างเทคนิคพิเศษทางภาพ นั้น ไม่ใช่เพียงแค่การสร้างCGI (Computer Generated Images) เพียงอย่างเดียว ไม่ว่าวิธีใดๆ ที่สามารถสร้างภาพพิเศษดังกล่าวก็ล้วนเรียกว่าการสร้างเทคนิคพิเศษทางภาพ หรือVisualEffect ทั้งสิ้น

เราสามารถแบ่งแยกย่อยเรื่องโครงสร้างงานVFXได้หลายแบบ

1.การสร้างฉากย่อส่วน (miniature) แบบจำลอง(Model) หุ่นควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์(Animatronic) หุ่นเชิด (puppets) เป็นการถ่ายทำจากวัตถุจริงที่มีขนาด เล็กกว่า หรืออาจเท่าจริง เพื่อสร้างภาพเคลื่อนไหว ใช้สำหรับประกอบการสร้างเทคนิคพิเศษ เช่นการถ่ายสตอปโมชั่นของสัตว์ประหลาดที่กำลังต่อสู้กับพระเอก เป็นต้น







2.การวาดต่อเติมฉาก (Matt Painting) งานลักษณะนี้จะไม่ใช่การสร้างภาพขึ้นใหม่ทั้งหมด แต่เป็นการวาดภาพเพิ่มเติมจากของเดิม เช่น เราถ่ายตึกที่เซทอัพมา สูงแค่ชั้นเดียวแต่ต้องการสูงสิบชั้น ศิลปินจึงต้องวาดภาพต่อในอี9ชั้นที่เหลือ ไม่ว่าจะวาดจากคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมหรือเทคนิคใดๆ หรือการวาดสดลงบนกระจกใสแล้วใช่กล้องถ่ายผ่านไป ก็ถือว่าเป็นการทำ Matt Painting ทั้งสิ้น





3.การถ่ายแยกองค์ประกอบ (Keying) หมายรวมถึงการถ่ายด้วยKeyscreen หรือการฉายภาพด้านหลัง และด้านหน้า (Rear/Front Projection)  โดยหลักการคือการแยกส่วนฉาก หรือวัตถุใดๆ ออกจากองค์ประกอบอื่น และนำมาผสมภายหลัง เพื่อผลพิเศษทางภาพ






















4.การใช้เทคนิคพิเศษของกล้อง เช่นการใช้เลนส์ในการหลอกระยะ/ขนาด ของวัตถุ เช่นการถ่ายคนยักษ์ โดยให้คนที่ต้องการให้ตัวใหญ่อยู่ไกล้กล้องมากกว่า ส่วนคนที่ต้องการให้ตัวเล็กก็อยู่ไกลออกไป หรือการถ่ายภาพตอนกลางวันให้เป็นกลางคืน(Day For Night)โดยใช้การลดรูรับแสงและใส่ฟิลล์เตอร์ช่วย หรืการถ่ายภาพต่างสปีด (Under/Over Cranking)เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวที่เร็วหรือช้าลง เป็นต้น




5.การสร้างภาพด้วยระบบดิจิทัล (Digital Effect) ซึ่งหมายรวมทั้ง Animation และ CGI ที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ ซึ่งถือว่าเป็นเทคนิคที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในปัจจุบัน




ที่มา:
http://dtv.mcot.net/mcot_one.php?dateone=1244770800
http://ebanpong1.blogspot.com/

http://202.29.22.164/e-learning/cd-1430/SOC48/tp5/linkfile/print5.htm
https://sites.google.com/site/computernetworksformultimedia/home/thekhnoloyi-thi-keiywkhxng-kab-khxmphiwtexr-maltimideiy
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=mhajoy&month=10-01-2008&group=18&gblog=6
http://www.audiocity2u.com/Knowledge-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%9B-%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87-audio-recording.html
https://sites.google.com/site/o3utterfly/week_14
https://sites.google.com/site/baet50322556/kar-srang-thekhnikh-phises-thang-phaph-visual-effect

รวมรวมข้อมูลโดย
นาย ธเนศ นวลอยู่ ปวส.1 อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม